ประวัติความเป็นมา

 

 

ความรู้เกี่ยวกับโคมไฟ
หลังเทศกาลวันออกพรรษา เมื่อปลายฝนต้นหนาว เป็นสัญญาณบอกว่าเทศกาลยี่เป็งได้เข้ามาเยือนแล้ว ชาวล้านนาต่างพากันเตรียมเครื่องใช้ ไม้สอย และเครื่องไทยทานเพื่อไปทำบุญที่วัด เพราะในช่วงเวลานี้ถือว่าเป็นวันเพ็ญ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน ยี่ (เหนือ) หรือ เดือน 12 ผู้เฒ่า ผู้แก่ จะถือโอกาส ไปนอนค้างแรม ที่วัดเพื่อฟังธรรมอันเป็นธรรมเนียมปฏิบัติของคนล้านนา
โคมไฟกับงานประเพณียี่เป็ง ถือได้ว่าเป็นของคู่กัน แต่ก่อนชาวล้านนามีโคมไฟใช้ไม่แพร่หลาย จุดประสงค์ของการใช้สอยของโคมไฟโบราณ ทำขึ้นเพื่อใช้เป็น ตะเกียง หรือสิ่งประดิษฐ์ สำหรับจุดไฟให้สว่าง แต่ด้วยเหตุผลที่น้ำมันมีราคาแพง ประเพณีการจุดโคมไฟแต่เดิมจึงมักมี เฉพาะในพระราชสำนัก และบ้านเรือน ของเจ้านายใหญ่โต เท่าที่ผ่านมาชาวล้านนาใช้โคมไฟในฐานะของเครื่องใช้ในครัวเรือน และเครื่องใช้ในพิธีกรรมเท่านั้น

 

 

ในปัจจุบันโคมไฟถูกนำไปใช้อย่างหลากหลาย เช่น ตกแต่ง โรงแรม รีสอร์ท วัด หรือ สถานที่ราชการ และเอกชน เพื่อความสวยงาม ดูบรรยากาศสบายๆ แบบ ล้านนา ซึ่งโคมไฟล้านนาหลากหลายชนิดก็ได้รับความนิยมทั้งใน และต่างประเทศ ทั้งนี้ในการทำโคมไฟ ปัจจุบัน ได้มีการพัฒนา ประยุกต์ตกแต่งให้เกิดความเหมาะสม และความต้องการของลูกค้า โคมไฟที่ใช้ในงานบุญที่พบเห็นอยู่ใน ภาคเหนือตอนบน โคมไฟถูกนำมาใช้เพื่อประดับ ตกแต่งอาคารบ้านเรือนเพื่อความสวยงาม และความเป็นศิริมงคล แก่เจ้าของบ้าน ซึ่งชาวล้านนาเชื่อว่า การจุดโคมไฟนั้น จะนำความเจริญรุ่งเรืองและความสุขมาให้กับตนและครอบครัวต่อไป

 

 

ความหมายของโคม
(อรุณรัตน์ วิเชียรและคณะ 2539) กล่าวว่า โคม หมายถึง โคมไฟ ตะเกียง หรือดอกเฟื่องฟ้า
(ศาสตราจารย์เกียรติคุณมณี พยอมยงค์ 2538 : 5) กล่าวว่า คนไทยกลุ่มภาคเหนือออกเสียงว่า "โกม" คือ ออกเสียงตัวก๊ะตามภาษาลี และโคมนั้นมีความหมาย 2 อย่างคือ เป็นเครื่องสักการะ และเป็นเครื่องส่องสว่าง
(น้ำทิพย์ คชเกษตริน 2541) กล่าวว่า โคม หมายถึง ตะเกียง หรือ เครื่องโคมไฟ ซึ่งมีบังลม โดยมากรูปกลมป้อง ใช้หิ้วหรือแขวน ลักษณะนามเรียกว่า "ดวง"
(วิบูลย์ ลี้สุวรรณ 2541) กล่าวว่า โคม หมายถึง เครื่องตามไฟที่มีกำบังลมโปร่งแสง อาจทำเป็นรูปสี่เหลี่ยม, รูปแปดเหลี่ยม, รูปกลม หรือทรงอื่นๆ ที่หิ้วหรือแขวน ตามที่ต่างๆ ทั้งเพื่อให้แสงสว่างโดยตรง และให้เป็นเครื่องบูชาสิ่งที่เคารพนับถือ เช่น แขวนบูชาพระพุทธรูป แขวนไว้ในศาสนสถาน และสถานที่สำคัญในงานพิธีต่างๆ ความสำคัญของโคม
โคมไฟ หรือ โคมแขวน เป็นงานหัถตกรรมพื้้นบ้าน ที่ได้รับการถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่น ให้คงอยู่สืบต่อจนถึงปัจจุบันในภาคเหนือ ซึ่งชาวล้านนาใช้ในงานประเพณียี่เป็ง พึงสักการะบูชาพระพุทธเจ้า คืนวันเพ็ญเดือนสิบสอง (ยี่เป็งล้านนา) ถือว่าเมื่อได้กระทำเช่นนี้แล้ว และประทีปจากโคมจะช่วยส่องประกายให้ดำเนินชีวิตเจริญรุ่งเรืองอยู่เย็นเป็นสุข
(สิงห์แก้ว มโนเพ็ชร 2539) กล่าวว่า การยกโคม หรือ การลอยโคม แต่เดิมเป็นพิธีการทางศาสนาพราหมณ์ ทำขึ้นเพื่อบูชาพระเจ้าทั้งหลาย คือ พระอิศวร พระนารายณ์ พระพรหม ซึ่งพรหมณ์นำมาถวาย การบูชาด้วยน้ำมันไขข้อโคนี้เป็นพิธีทางลัทธิพราหมณ์โดยแท้ ต่อมาในแผ่นดิน ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวราชการที่ 9 ทรงมีพระราชดำริว่า พระราชพิธีต่างๆ ที่มีนั้นจะต้องให้มีส่วนเกี่ยวข้อกับทางพระพุทธศาสนา ดังนั้นจึงโปรดให้มีการสวดมนต์เย็น ฉันเช้าก่อนที่จะยกโคม พระสงฆ์ที่จะสวดมนต์ประกอบไปด้วย พระราชาคณะไทย 1 คณะครูปริวัตรไทย พระราชาคณะรามัญ 1 พระครูปริคารามัญ 4 รวมเป็น 10 รูป ในการทำพิธี (แต่โบราณ) ที่ตั้งโคมเป็นไม้ไผ่ติดกระดาษ ส่วนข้างในสาน
เป็นชะลอมเปิดกระดาษเป็นรูปกระบอกต่างๆ เทียนสำหรับจุดโคมชั้นในแต่ละคืนจะใช้เทียน 24 เล่ม พอจุดได้ประมาณ 3 ชั่วโมง ในสมัยก่อนจะมีโคมในพระราชวังปักประจำ ทุกตำหนักเจ้านาย เช่น ถ้าเป็นตำหนักเจ้าฟ้าก็จะใช้โคมโครงไม้ไผ่หุ้มผ้าขาว เช่นเดียวกับโคมประเทียบ ถ้าเป็นตำหนักพระองค์เจ้าหรือข้างในก็ใช้โคมโครงไม้ไผ่ปิดกระดาษ คล้ายกับโคมบริวารที่มีอยู่ทุกตำหนัก ซึ่งโคมทั้งหมดจะใช้จุดตะเกียง ด้วยถ้วยแก้ว หรือชามเหมือนกับโคมบริวารเจ้านาย ซึ่งอยู่นอกพระบรมมหาราชวัง แต่สำหรับโคมชัย โคมประเทียบ และโคมบริวารจะมีใน พระราชวังเท่านั้น