ประวัติวัดฟ้ามุ่ย

คำว่า วัด : ถือว่าเป็นศูนย์รวมจิตใจของประชาชน เป็นแหล่งสรรพวิชาต่างๆ โดยเฉพาะวิชาศีล ธรรมจารยา มรรยาท ที่คอยอบรมพร่ำสอนให้คนเป็นคนดีเรื่อยๆมา และยังเป็นศูนย์รวมความสัมพันธ์ของคนในชุมชน ให้รักษาขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงามที่ปฎิบัติสืบทอดกันมาให้คงอยู่ต่อไป


วัดฟ้ามุ่ย : ซึ่งเป็นวัดประจำหมู่บ้าน วัดฟ้ามุ่ยนี้สร้างขึ้นครั้งแรกนั้นเมื่อใดไม่มีหลักฐานที่ปรากฏแน่นอน แต่พอจะมีหลักฐานชิ้นหนึ่งที่เก่าแก่ที่สุดเท่าที่ค้นพบกล่าวถึงวัดฟ้ามุ่ยเมื่อครั้งที่พญาผาบหรือพญาปราบสงคราม อดีตแม่ทัพเมืองเชียงใหม่ผู้เคยนำทัพเชียงใหม่รบกับไทใหญ่ในรัฐฉานจนประสบชัย และป็นผู้ที่มีอิทธิพลผลประโยชน์เหนื่อพื้นฝั่งตะวันออกของแม่น้ำปิงจากเชียงใหม่จรดลำพูน ได้คิดทำการต่อต้านระบบการจัดเก็บภาษีอากรตาม “ระบบกรุงเทพฯ” ที่สร้างความเดือดร้อนให้แก่ราษฎร และตัวเองต้องสูญเสียอำนาจจากการเปลี่ยนแปลงตาม “ระบบกรุงเทพฯ”
ทำให้ราษฎรพื้นเมื่องจำนวนประมาณ๒,ooo คน เข้าพึ่งบารมีพญาปราบ และมีการก่อตัวเป็นกองกำลังอย่างเป็นระบบยิ่งขึ้น โดยเริ่มต้นตั้งแต่การสะสมอาวุธ ช้าง ม้า กระสุนดินดำ เสบียงอาหาร วางเวรยาม และได้ชุมนุมพลบำรุงขวัญที่บริเวณวัดฟ้ามุ่ย วัดประจำหมู่บ้านแขวงจ๊อม มีครูบานาราต๊ะ เจ้าอาวาสวัดฟ้ามุ่ย เป็นองค์ประธานในพิธีเสกน้ำมนต์และแจกจ่าย ให้ทาร่างกายเพื่ออยู่ยงคงกระพันเหมือนพญาปราบสงครามผู้นำกองกำลัง เพื่อจะได้มีกำลังสู้ศึกอย่างฮึกเหิม
จากเหตุการณ์ดังกล่าวข้างต้น ที่ครูบานาระต๊ะเป็นเจ้าอาวาสวัดฟ้ามุ่ยนั้น อยู่ในปี พ.ศ. ๒๔๓๒ สมัยพระเจ้าอินทรวิชยานนท์ เจ้าครองนครเชียงใหม่ลำดับที่๗ (พ.ศ.๒๔๑๓ – ๒๔๓๙) ซึ่งตรงกับสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร.๕) ทำให้เราได้ทราบได้ว่าวัดฟ้ามุ่ย ได้เป็นศูนย์รวมจิตใจของประชาชนมาแล้วกว่าศตวรรษ
วัดฟ้ามุ่ย ตั้งอยู่เลขที่๘o บ้านฟ้ามุ่ย หมู่ที่ ๑ ต.หนองจ๊อม อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ ๒ ไร่ ๒ งาน ๒ ตารางวา น.ส. ๓ เลขที่ ๓๗๖
อาณาเขต ทิศเหนื่อประมาณ ๘๑ เมตร จดทุ่งนา ทิศตะวันตกประมาณ ๘๒ เมตร จดทุ่งนา
อาคารเสนาสนะละปูชนียวัตถุ คือ

๑.พระอธิการบุญมี ผาสุกธัมโม (พ.ศ. ๒๔๗๒ – ๒๔๙๖)

๒.เจ้าอธิการชื่น อินทโชโต (พ.ศ.๒๔๙๙-๒๕o๓)

๓. พระอธิการพรหม พรหมปัญโญ (พ.ศ.๒๔o๕-๒๕o๘)

๔. พระอธิการถวิล ธีรปัญโญ (พ.ศ.๒๕๑๙- ๒๕๒๗)

๕. พระใบฎีกามสพร เตชปัญโญ (พ.ศ.๒๕๒๘- ปัจจุบัน)


*บทความของ สมโชติ อ๋องสกุล, เรื่อง หนึ่งศตวรรษแห่งการต่อสู้ “เพื่ออำนาจท้องถิ่นของภาคประชาชนในล้านนา”ในหนังสือ ศึกษาศาสตร์สาร (รวมเล่มปีที่๒๒ – ๒๗) ฉบับที่๑ มกราคม – มิถุนายน, ๒๕๔๓. หน้า๑๒๑ – ๑๒๒